วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

การเติมลมยางถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดูแลรักษายางรถยนต์

การเติมลมยางถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดูแลรักษายางรถยนต์ ถ้าขาดการดูแลที่ดี จะเกิดผลเสียดังนี้



เติมลมน้อยเกินไป
ยางจะบวมล่อนได้ง่ายอายุการใช้งานลดลง ดอกยางสึกผิดปกติอาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างสึกที่ไหล่ยาง
หรือสึกที่ปลายดอกมีความฝึดที่ผิวสัมผัสมากซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าปกติ

เติมสูบลมมากเกินไป
เมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายางจะสึกมากถ่ายเทการสั่นสะเทือน หรือการ กระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก ขาดความนุ่มนวล

การเติมลมของยางล้อคู่
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมลมและรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นยางเส้นที่มีแรงดันมากจะรับน้ำหนักมาก ชำรุดเสียหายง่ายสึกหรอผิดปกติเส้นที่เติมลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อยการสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกัน หรือสึกอย่างผิดปกติ

- ไม่ควรปรับความดันลมยางในขณะยางร้อน เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว

- ยางเรเดียลเส้นลวดต้องเติมลมมากกว่ายางผ้าใบธรรมดา

ความแตกต่างของแรงดันลมเพียง 1 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 14 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 400 ก.ก. ถ้าแรงดันลมต่างกัน 2
ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 800 ก.ก. ในกรณีแรงดันลม ต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว
ยางเส้นที่เติมลมมาก จะมีอายุใช้งานเพียง 70% เส้นที่ลมยางอ่อนจะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง 45% การเติมลมให้เท่ากันจึงมี
ความจำเป็นอย่างยิ่ง

เพราะฉะนั้น จึงควรเติมลมให้พอดีตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด หรือพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งาน นอกจากต้องเติมลมให้ ถูกต้องแล้วจะต้องมีการตั้งศูนย์ล้อ ตั้งมุมของล้อหน้า ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานของรถยี่ห้อนั้นๆ อีกด้วย

การตรวจเช็คลมยางควรตรวจเช็คในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ และเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องควรเติมลมยางให้ได้ตามมาตรฐานที่บริษัท
รถกำหนด

นอกจากนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บยางไว้นานๆ ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางสัมผัสกับความร้อน แสงแดด ลม ฝน ความชื้นน้ำมัน และสารเคมีต่างๆ หากสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น