วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการจัดไฟแนนซ์รถยนต์มือสอง

ขั้นตอนการจัดไฟแนนซ์รถยนต์มือสอง ง่ายนิดเดียว




การจัดไฟแนนซ์รถยนต์มือสอง บางท่านอาจไม่เข้าใจและไม่เคยการจัดไฟแนนซ์รถมือสอง ง่ายๆคือการซื้อขายรถยนต์ โดยผู้ซื้ออาจมีเงินดาวน์บ้างบางส่วนให้แก่ผู้ขายรถยนต์ แล้วส่วนที่เหลือผู้ซื้อรถทำเรื่องกู้?กับบริษัทจัดไฟแนนซ์รถยนต์ โดยนัดผ่อนชำระเป็นงวดๆพร้อมดอกเบี้ยให้แก่บริษัทจัดไฟแนนซ์?แล้วเราก็ผ่อนกับบริษัทนี้แหละจนกว่าจะผ่อนครบตามสัญญาที่คุยกันไว้ แล้วกรรมสิทธิ์จึงจะตกเป็นของผู้ซื้อ

ง่ายๆคือ มีเงินดาวน์รถแต่เงินไม่พอดาวน์รถยนต์ เลยทำเรื่องเอารถเข้าไฟแนนซ์ซะเลยแล้วค่อยผ่อนกับบริษัทที่เราทำไฟแนนซ์ ผ่อนหมดเมื่อไรนั่นแหละรถถึงจะเป็นของเรา ถ้าผ่อนไม่หมดล่ะจะเป็นยังไงล่ะที่นี้ ก็ตัวใครตัวมัน อิอิ

ท่านสามารถจัดไฟแนนซ์รถยนต์ของท่านได้ในกรณีใดบ้าง ก็มีหลายกรณีเหมือนกันอาทิเช่น รถที่ซื้อมานั้นท่านได้ซื้อมาจากจากเต้นท์รถยนต์มือสองหรืออาจจะเป็นรถซื้อขายกันเองระหว่างญาติ พี่น้อง ผองเพื่อน มิตรสหายของคุณ หรือเป็นรถที่คุณเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่แล้วต้องการนำมากู้

กล่าวคือที่เขาว่ารถแลกเงินนั่นแหละ หรือหากว่าท่านต้องการนำเงินไปลงทุนธุรกิจของท่านเป็นต้น (รีไฟแนนซ์รถยนต์) อีกกรณีคือรถที่ผ่อนอยู่กับไฟแนนซ์เจ้าอื่นๆอยู่ แต่ยังคงผ่อนไม่ครบตามกำหนดสัญญา หากท่านต้อง การย้ายไฟแนนซ์เพื่อยืดระยะเวลาให้ผ่อนน้อยลง และท่านจะยังมีเงินเหลือเพื่อใช้จ่ายหรือนำมาหมุนเพิ่มสภาพคล่องได้

รถประเภทใดที่จัดไฟแนนซ์ได้ เป็นคำถามที่หลายท่านถามมา ก็ใช่ว่ามีรถแล้วจะกู้ได้ตามสบายมันก็ต้องมีเงื่อนไขกันหน่อย มาดูกันเลยว่ารถแบบไหนประเภทใดที่จัดไฟแนนซ์ได้บ้าง เช่น
รถเก๋ง ส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งแต่ปี 1999 จนถึง ปัจจุบัน
รถกระบะ ส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งแต่ปี 1999 จนถึง ปัจจุบัน?
รถตู้ ส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งแต่ปี 1999 จนถึง ปัจจุบัน

มีอีกกรณีในส่วนนี้ บางบริษัทก็สงวนสิทธิในการจัดไฟแนนซ์หรือไม่จัดไฟแนนซ์ ให้กับรถบางรุ่นบางยี่ห้อแล้วแต่บางบริษัท แล้วรถที่นำไปติดแก๊ซ อยากจัดไฟแนนซ์นั้นสามารถทำได้หรือไม่นนั้นก็ไม่มีปัญหาขอแค่มีใบรับรองผลการตรวจสภาพและลงรายการในเล่มครบก็สามารถที่จะจัดไฟแนนซ์ได้สบายมากถ้าทำตามเงื่อนไข

ส่วนการคำนวณค่างวดไฟแนนซ์และเช่าซื้อ ตัวอย่างเช่น หากราคารถอยู่ที่ 300,000 บาท ผู้ซื้อมีเงินดาวน์ 20% คือ 60,000 บาท ที่เหลือกู้ไฟแนนซ์ 240,000 บาท
ดอกเบี้ย 5 % ต่อปี
?จำนวน 48 เดือน
ค่างวดก่อนภาษีมูลค่าเพิ่มจะเท่ากับ ((240,000 X 5% X 4) + 240,000) / 48
ซึ่งจะเท่ากับ 6,000 บาท
รวมภาษี 7% 420 บาท
เป็นค่างวด 6,420 บาท

ขั้นตอนการจัดไฟแนนซ์รถยนต์ ขอสินเชื่อ เช่าซื้อรถยนต์ ต้องทำยังไงบ้าง อย่าไปคิดมากเรื่องต้องมีอะไรบ้างขอแค่ท่านเป็นเจ้าของรถมีกรรมสิทธิ์ครอบครองรถ ก็แค่ท่านแจ้งยี่ห้อรถของท่าน รุ่น ปี รถที่ต้องการซื้อ(กรณีซื้อรถ)หากต้องการนำมากู้ก็สำเนาเล่มทะเบียนส่งหรือมาที่บริษัทรับจัดไฟแนนซ์

แล้วเจ้าหน้าที่พนักงานสินเชื่อ ประเมินยอดจัดให้ไฟแนนซ์ให้(ง่ายๆคือตีราคารถ )ซึ่งโดยปรกติประมาณ 70-80% ของราคาซื้อขาย ถ้าลูกค้าตกลงที่จะจัดไฟแนนซ์รถมือสอง
คนกู้ก็ต้องต้องเตรียมเอกสารของตนเองและก็หาผู้ค้ำประกันเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ท่านต้องการง่ายๆ

การนัดเซ็นต์สัญญา และการส่งมอบเอกสาร ซึ่งลูกค้าสามารถเข้ามาทำสัญญาที่บริษัทหรือจะให้พนักงานไปเซ็นต์นอกสถานที่ได้(บางบริษัท) หากไม่สะดวกในการเดินทางมาที่บริษัทซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อจะขอถ่ายรูปรถ และลอกลายเลขเครื่อง เลขถัง เพื่อประกอบการทำสัญญาด้วย เจ้าหน้าที่สินเชื่อจะแจ้งผลการอนุมัติ เพื่อขอเล่มทะเบียนตัวจริงไปโอนที่ขนส่ง เมือโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นของบริษัทแล้วบริษัทจะจ่ายเช็คให้ผู้ขายรถทันที

มีหลายท่านสงสัยว่าถ้าถูกหวยรวยเบอร์ มีเงินก้อนมาโป้ะหรือปิดบัญชีก่อนกำหนดจะมีส่วนลดหรือเปล่า คำตอบก็คงจะเป็นคำตอบที่เพราะพริ้งมากๆคือมีส่วนลดแน่นอน หากลูกค้าประสงค์จะปิดสัญญาเช่าซื้อ ก่อนกำหนดจะมีส่วนลดดอกเบี้ยให้ 50% ของค่างวดที่เหลือตามที่สำนักคุ้มครองผู้บริโภคว่าไว้ เช่น ผ่อนมาแล้ว 40 งวด จาก 60 งวด ลูกค้าจะได้ส่วนลดดอกเบี้ย 50% ของ 20 งวดที่คงเหลือ ลดชัวร์แน่นอน


รถมือสองมากมาย ให้เลือก ที่  www.ubonauto.com

"นึกถึงรถ  นึกถึงเรา"

ท่านสามารถเลือกดูและติดตามข่าวสารได้กับอุบลออโต้ .ได้ที่ http://www.ubonauto.com/ คลิ๊กที่นี่

และสามารถติดตามเฟสบุ๊ก ได้ที่
อุบลออโต้คลับ https://www.facebook.com/UbonAuto?ref=hl
พบ รถมือสอง คุณภาพเยี่ยมที่อุบลออโต้ 

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อีก 6-8 ปีข้างหน้าหากก๊าซฯในอ่าวไทยหมด อนาคต LPG จะมาจากไหน?



เราไม่อาจปฏิเสธว่า ก๊าซหุงต้มหรือ LPGเป็นสินค้ามีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนทั้งประเทศ แต่ปัญหาที่คนไทยต้องเผชิญในอีก 6-8 ปีข้างหน้า จะพบว่า แหล่งผลิตก๊าซหุ้งต้มในประเทศ ที่ได้จากอ่าวไทยกำลังจะหมดไป เราต้องหันไปนำเข้าเกือบ 100%


สิ่งที่คนไทยหันมาตระหนัก คงต้องเน้นการใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและราคาต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งเป็นเพียงหนทางเดียวที่ไทยจะยังคงมีความมั่นคง ที่มีLPGใช้ในระยะยาวต่อไป การแก้ไขปัญหาจึงต้องครบวงจร มีการบริหารความต้องการใช้อย่างบูรณาการ ทั้งด้านอุปสงค์ หรือการใช้LPGให้ถูกต้อง ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต และมองการจูงใจให้เกิดการจัดหา LPG เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

เมื่อพิจารณาในแง่ของการใช้ปัจจุบันแยกเป็น LPG ภาคครัวเรือนซึ่งมีการใช้มากสุดรองลงมาเป็นภาคปิโตรเคมี ภาคขนส่งและ ภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ ซึ่งที่ผ่านมารัฐใช้นโยบายควบคุมราคาให้ต่ำกว่าต้นทุนหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ทั้งในส่วนของ LPG ครัวเรือนและภาคขนส่ง ขณะที่การนำเข้าLPGจากต่างประเทศที่มีราคาแพง แต่ราคาที่ต่ำรัฐได้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันมาอุดหนุนส่วนต่างราคา โดยขณะนี้ราคาLPGครัวเรือนอยู่ที่ 22.63 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) LPG ขนส่งอยู่ที่ 22 บาทต่อกก.(มีผลตั้งแต่ 1ต.ค.57) แต่ต้นทุนราคาหน้าโรงแยกก๊าซฯอยู่ที่ 24.82 บาทต่อกก.(ราคาที่ถูกตรึงไว้หน้าโรงแยกก๊าซที่ 333 เหรียญต่อตัน) ขณะที่ต้นทุนการจัดหาอยู่ที่ประมาณ 27.85 บาทต่อกก.ดังนั้นหากจะให้สะท้อนกลไกตลาดก็ควรจะสะท้อนไปที่ต้นทุนการจัดหา





อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องพิจารณาคือราคา LPG ขนส่งนั้นต่ำกว่าครัวเรือนแนวทางราคาจึงควรจะเท่ากันโดยเฉพาะขนส่งนั้นเป็นภาคที่มีอัตราการขยายตัวมากที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากราคาขายปลีกต่ำกว่าน้ำมันเบนซินมาก โดยราคา LPG ภาคขนส่งที่ 21.38 บ./กก. ในปัจจุบัน เทียบเท่า 11.55 บ./ลิตร (ในขณะที่ราคาขายจริงในสถานีบริการ LPG จะสูงกว่าที่ 12 – 14 บ./ลิตร เนื่องจากไม่มีการควบคุมค่าการตลาดของผู้ค้า ซึ่งค่าการตลาดที่ผู้ค้าได้จริงจะมากกว่า 3 บ./ลิตร หรือกว่า 6 บ./กก.) ราคาเมื่อเทียบค่าความร้อนที่เท่ากับน้ำมันเบนซินจะประมาณ 15 บ./ลิตร ซึ่งต่ำกว่า E10 ที่ประมาณ 38 บ./ลิตรอยู่มาก ดังนั้นการใช้ LPG ที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นอุปสรรคต่อนโยบายการส่งเสริมการใช้เอทานอลที่ผลิตได้ในประเทศ ในขณะที่การจัดหา LPG รองรับการใช้เพิ่มขึ้นในภาคขนส่งต้องมาจากการนำเข้า (หากไม่มีการกระตุ้นการจัดหาในประเทศมากขึ้น)

การใช้ LPG ในครัวเรือนเพื่อใช้ในก๊าซหุงต้มมีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่และมีผลกระทบต่อค่าครองชีพสำหรับผู้มีรายได้น้อยแต่เป็นภาคที่มีการใช้มากที่สุดถึง 2.4 ล้านตัน/ปี การใช้กลไกการควบคุมราคาให้ต่ำเพื่อชดเชยค่าครองชีพจะต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่การอุดหนุนทั้งระบบก็พบว่ากลับมีการช่วยคน ที่ไม่ได้จนจริงและอีกส่วนทำให้เกิดการลักลอบไปยังประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนและกองทุนน้ำมันฯที่ชดเชยราคาที่ต่ำที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันฯกลายเป็นว่าเราไปช่วยเพื่อนบ้านด้วยไม่ใช่แค่คนไทยกันเอง





ดังนั้นการใช้กลไกการช่วยเหลือโดยตรงกับผู้มีรายได้น้อยหลายรัฐบาลพยายามหามาตราการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบให้กับผู้มีรายได้น้อย พร้อมๆไปกับทยอยปรับราคาเพื่อให้ราคาสะท้อนต้นที่แท้จริง เห็นได้รัฐบาลสมัยปี 2556 มีการทยอยปรับราคา จากราคา 18.13 บ./กก. เป็น 24.82 บ./กก. ทำให้การใช้ในปี 2556 ปรับลดลง 2.409 ล้านตัน/ปี หรือลดลง 20% จากปี 2555 ที่มีการใช้อยู่ที่ 3.047 ล้านตัน/ปี

อย่างไรก็ตามมีคนเปรียบเทียบว่ารัฐบาลอเมริกายังส่งเสริมให้ใช้ LPG ในภาคขนส่งได้แต่นั่นก็เพราะความโชคดีที่สหรัฐอเมริกามีการค้นพบแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ (Shale gas) และนำมาแยกโพรเพนใช้ในบ้านและรถยนต์ จากเดิมที่ต้องนำเข้าโพรเพน วันนี้อเมริกาส่งออกโพรเพนจำนวนมาก ดังนั้นการส่งเสริมใช้ LPG ในภาคขนส่งจึงมีส่วนช่วยพัฒนาการจัดหา shale gas และสร้างโรงแยกก๊าซฯ เพิ่มขึ้น เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ แต่ราคาขาย LPG ในภาคขนส่งในอเมริกาไม่มีการควบคุมหรืออุดหนุนราคา โดยอยู่ที่ 42.5 บ./กก. ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยมาก





ขณะที่ประเทศไทยอดีตการค้นพบก๊าซในอ่าวไทย ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเปียกที่สามารถนำมาแยกเพื่อป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้รัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงมีแนวคิดสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่จ.ระยองภายใต้แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจนถึงปัจจุบัน แต่การจัดหาจากอดีตที่พอใช้เวลานี้ LPG ต้องนำเข้ามาเสริมกับความต้องการเพิ่มขึ้นจากปี 2551 ถึงขณะนี้นำเข้ามากกว่า 10 ล้านตันขณะที่อนาคตก๊าซฯในอ่าวไทยที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติประเมินหากไม่มีการจัดหาเพิ่มจะทยอยหมดใน 6-8 ปีข้างหน้า

การที่มีเสียงเรียกร้องบางส่วนให้รัฐบาลเรียกกลับเอา LPG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือจัดสรรให้กับประชาชนเป็นหลักไม่ให้ปิโตรเคมีคงต้องพิจารณาถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่ไทยยังคงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ นอกจากนี้สัญญาซื้อขาย LPG เป็นวัตถุดิบของโรงงานโอเลฟินส์ Gas-based ล้วนเป็นสัญญาซื้อขายระยะยาวกับบริษัทเอกชนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ การแทรกแซงสัญญาระยะยาวที่มีอยู่เดิม อาจส่งผลต่อเนื่องถึงตลาดทุนและความเชื่อถือของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอีกด้วย





ดังนั้นการสร้างความมั่นคงในการจัดหา LPGนอกจากที่จะพิจารณาการลอยตัวราคาขายของผู้ผลิตให้สะท้อนต้นทุนหรือตลาดโลกแล้ว เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการผลิต LPG ในประเทศ คงต้องพิจารณาว่าในอนาคตเมื่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มลดลง การผลิต LPG จากโรงแยกก๊าซฯจะลดลงตาม เราจะหา LPG ในระยะยาวจากไหน ซึ่งในปัจจุบันเรานำเข้า LPG จากตะวันออกกลาง แต่ในอนาคตเมื่อ shale gas ในอเมริกา ก็จะมีการส่งออกโพรเพนมากขึ้นจากอเมริกา ดังนั้นการนำเข้าโพรเพนจากอเมริกาก็จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่หมายถึงจะต้องมีการศึกษาการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านถังเก็บผลิตภัณฑ์และท่าเทียบเรือรองรับ รวมทั้งการหาพันธมิตรในภูมิภาคเพื่อให้เกิดความประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) เพื่อช่วยลดต้นทุนนำเข้า

การบริหารความต้องการใช้และการสร้างความมั่นคงทางการจัดหาจะไม่สามารถบรรลุผล หากไม่มีการทบทวนการควบคุมราคา LPG โดยกระแสโลกปัจจุบันจะมุ่งสู่การลอยตัวราคาพลังงาน เพราะนอกจากจะช่วยให้การใช้มีประสิทธิภาพ เพิ่มการจัดหา ยังช่วยให้ลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งจากการประหยัดการใช้ และยังเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้เชื้อเพลิงภาคอื่น ที่ปัจจุบันกองทุนเรียกเก็บเพื่อนำมาอุดหนุนราคา LPG พร้อมกับช่วยส่งเสริมการใช้เอทานอลซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่ผลิตได้เองในประเทศอีกด้วย



รถมือสองมากมาย ให้เลือก ที่  www.ubonauto.com

"นึกถึงรถ  นึกถึงเรา"

ท่านสามารถเลือกดูและติดตามข่าวสารได้กับอุบลออโต้ .ได้ที่ http://www.ubonauto.com/ คลิ๊กที่นี่

และสามารถติดตามเฟสบุ๊ก ได้ที่
อุบลออโต้คลับ https://www.facebook.com/UbonAuto?ref=hl
พบ รถมือสอง คุณภาพเยี่ยมที่อุบลออโต้ 

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สีรถที่ถูกต้อง ตามระเบียบการของกรมขนส่งทางบก


สีรถที่ถูกต้อง ตามระเบียบการของกรมขนส่งทางบก


พลังของโซเชี่ยลทำงานอีกแล้วครับ เมื่อมีผู้ใช้ Facebook ท่านหนึ่ง ส่งรูปภาพรถยนต์ Toyota ที่ทำสีโครเมี่ยมเกิน 50% ของตัวรถ เข้าไปที่เพจของ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร – บก.02 วันนี้ผมจึงอยากแถลงการณ์ถึง สีรถที่ถูกต้อง ตามระเบียบการของกรมขนส่งทางบก พ่วงไปด้วยเลยครับ






ก่อนอื่นเริ่มจากจากเรื่อง รถสีโครเมี่ยม ก่อนครับ

ทันทีที่เพจ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร – บก.02 ได้รับรูปภาพดังกล่าวมา ก็ได้มีการแชร์ภาพรถ Toyota สีโครเมี่ยมออกมาทันทีครับ พร้อมข้อความว่า “ตรวจสอบจัดการครับ” หลังจากนั้นก็ทันทีอีกเช่นกันครับ มีประชาชนจำนวนมากเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ บ้างก็ว่า สีดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก บ้างก็ว่ามันสวยดี บ้างก็ว่าดาราขับกันเยอะแยะ (อันนี้แอดมินเคยเห็นนะ แต่ขอไม่เอ่ยชื่อครับ) บ้างก็ถามกับทางเจ้าหน้าที่เลยครับว่า จะไปจับเรื่องอะไร ก็เรียกได้ว่าถกเถียงกันหนักพอสมควร ผลจพออกมาอย่างไร รอติดตามกันละกันนะครับ เดี๋ยวแอดมินจะรายงานให้ทราบ


รถคันดังกล่าวที่เป็นประเด็น
ดังนั้น สีรถที่ถูกต้อง ตามระเบียบมีอะไรบ้างล่ะ

ต้องขออภัยที่ออกนอกประเด็นไปนานเลยครับ สีรถที่ถูกต้อง นั้น ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกำหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 มาตรา 13 ข้อ 5 บอกไว้ว่า การกำหนดสีของรถให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถกำหนดสีที่เป็นสีหลัก โดยไม่คำนึงถึงความเข้มของสีที่แตกต่างกัน ตามตัวอย่างที่กำหนดในภาคผนวก ก ซึ่งในภาคผนวก ก นั้นมีรายละเอียดดังนี้



สีแดง หมายความถึง สีแดงเลือดหมู สีแดงเลือดนก สีแดงบานเย็น สีแดงทับทิม



สีน้ำเงิน หมายความถึง สีน้ำเงินเข้ม สีคราม สีกรมท่า



สีเหลือง หมายความถึง สีเหลืองอ่อน สีเหลืองทอง สีครีมออกเหลือง



สีขาว หมายความถึง สีขาวงาช้าง สีครีมออกขาว



สีดำ หมายความถึง สีดำออกเทา



สีม่วง หมายความถึง สีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม สีม่วงเปลือกมังคุด



สีเขียว หมายความถึง สีเขียวใบไม้ สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม สีเขียวขี้ม้า



สีส้ม หมายความถึง สีแสด สีอิฐ สีปูนแห้ง



สีน้ำตาล หมายความถึง สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้ สีน้ำตาลเข้ม สีแชล็ค



สีชมพู หมายความถึง สีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม



สีฟ้า หมายความถึง สีฟ้าอ่อน สีฟ้าเข้ม



สีเทา หมายถึง สีเทาอ่อน สีเทาออกดำ สีบรอนซ์เงิน สีตะกั่วตัด

ดังนั้นเท่าที่แอดมินดูก็ยังไม่เห็นสีโครเมี่ยมอยู่ในข้อไหนนะครับ แต่ทั้งนี้ต้องดูหลายๆประการประกอบกันไปครับ เช่น ถ้าไม่ตรงตามระเบียบแล้ว ขนส่งให้แจ้งจดมาได้อย่างไร หรือว่าเจ้าของรถไม่ได้แจ้งเปลี่ยนสีรถ หรือความจริงแล้วสีดังกล่าวไม่ผิดกฎหมาย คงต้องติดตามกันต่อไปครับ